การศึกษารูปแบบการเดินทางด้วยระบบขนส่งเสริมสำหรับสถานีรถไฟฟ้าเตาปูน
วเรศรา วีระวัฒน์ * และ ทักษพร ทองบุญเพียร
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, วิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ
ในปี 2016 เส้นทางการเดินรถไฟฟ้าช่วงสถานีเตาปูน (สายสีม่วง) – บางซื่อ (สายสีน้ำเงิน) ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จึงจัดให้บริการระบบขนส่งเสริมเพื่อใช้ในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าทั้งสองสายโดยมีทางเลือก คือ ไฟชานเมืองและรถโดยสารปรับอากาศ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลกระทบจากการเดินทางเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งเสริม และคาดการณ์ผลกระทบกรณีที่มีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษาด้วยแบบจำลองสถานการณ์โดยใช้โปรแกรม PTV Vissim/Viswalk พบว่าในช่วงการเชื่อมต่อด้วยรถไฟฟ้าที่ยังไม่เปิดให้บริการนั้น ผู้โดยสารต้องมีการเดินทางระหว่างชานชาลาของสถานีที่ให้บริการสำหรับรถแต่ละประเภท และต้องมีการรอรถที่ให้บริการ ประกอบกับการเดินทางที่ต้องเจอกับปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วน ส่งผลให้การเดินทางเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งเสริมนั้นเกิดความล่าช้าอย่างมาก แม้ว่าจะมีระยะห่างระหว่างสถานีเพียงประมาณหนึ่งกิโลเมตร โดยเฉพาะกรณีรถโดยสารปรับอากาศที่แม้ว่าจะมีการให้บริการอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับรถไฟชานเมืองที่มีให้บริการเพียงบางช่วงเวลา

คำสำคัญ : การเชื่อมต่อ, รถไฟฟ้า, ระบบขนส่งเสริม, แบบจำลอง, โปรแกรม PTV Vissim/Viswalk