แบบจำลองคณิตศาสตร์ด้วยวิธีพืนผิวตอบสนองและวิธีโครงข่ายประสาทเทียม สำหรับทำนายผลแรงดึงเฉือนและขนาดนักเกตสำหรับเหล็กเคลือบสังกะสี JIS G3313 ที่ผ่านการเชื่อมความต้านทานชนิดจุด
ประเภทบทความ :
บทความวิชาการ
หมวดหมู่ :
วิศวกรรมเครื่องกล
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและวิเคราะห์รูปแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมด้วยวิธีการพื้นผิว
ตอบสนอง โดยออกแบบการทดลองแบบส่วนประสมกลาง และแบบจำลองด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียม ในการ
ทำนายค่าแรงดึงเฉือนและขนาดนักเกตสำหรับการเชื่อมความต้านทานชนิดจุดในเหล็กเคลือบสังกะสี JIS G3313
ปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา 3 ปัจจัยได้แก่ กระแสไฟฟ้า เวลา และแรงกดอิเล็กโทรดในการเชื่อม หลังจากทำการเชื่อมได้มี
การทดสอบแรงดึงเฉือน การวัดขนาดนักเกต และการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ
ส่องกราด ผลการวิจัยพบว่าสภาวะการเชื่อมที่เหมาะสม คือ กระแสไฟฟ้าในการเชื่อม 12 กิโลแอมแปร์ เวลาในการ
เชื่อมไซเคิล และแรงกดอิเล็กโทรด 1.5 กิโลนิวตัน ส่งผลให้มีค่าแรงดึงเฉือน มีขนาดนักเกตตามเกณฑ์การยอมรับ
ตามมาตรฐาน JIS Z3140:2017 โครงสร้างจุลภาคบริเวณเขตอิทธิพลความร้อนมีเกรนของเฟอร์ไรท์ เพิร์ลไรท์ละเอียด
และหนาแน่น บริเวณนักเกตเกิดโครงสร้างเฟอร์ไรท์รูปเข็มที่มีความละเอียด จึงส่งผลให้ชิ้นงานเชื่อมมีความแข็งแรง
สูง แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม คือ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากวิธีโครงข่ายประสาทเทียม โดย
โครงสร้างโครงข่ายประสาทเทียมสำหรับการทำนายค่าแรงดึงเฉือน คือ ชั้นอินพุทจำนวน 3 นิวรอน ชั้นซ่อนจำนวน
10 นิวรอน และชั้นแสดงผลจำนวน 1 นิวรอน (3-10-1) ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองที่ 0.0026 ค่าสัมประสิทธิ์
การตัดสินใจที่ 0.956 สำหรับทำนายขนาดนักเกต ชั้นอินพุทจำนวน 3 นิวรอน ชั้นซ่อนจำนวน 5 นิวรอน และชั้น
แสดงผลจำนวน 1 นิวรอน (3-5-1) ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองที่ 0.0004 ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่ 0.958
โดยงานวิจัยนี้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตสามารถนำข้อมูลวิจัย และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวไปใช้เพื่อ
พยากรณ์ ควบคุมคุณภาพของรอยเชื่อมให้ได้ค่าแรงดึงเฉือน และขนาดนักเกตตามเกณฑ์การยอมรับต่อไป
วันที่ลง22/12/2019
686

Keyword :