แบบการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ประเภทบทความ :
บทความวิชาการ
หมวดหมู่ :
อื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิทยาลัยเทคโนโลยี
อุตสาหกรรมและนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแบบการเรียนของนักศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2548 จำนวน 1,077 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ
แบบสอบถามที่ได้รับการพัฒนามาจากแบบสอบถามแบบการเรียนของกราชาและไรซ์แมน (Grasha and Reichmann) จำนวน 6 แบบ ได้แก่ แบบ
อิสระ แบบหลีกเลี่ยง แบบร่วมมือ แบบพึ่งพา แบบแข่งขัน และแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่าในภาพรวมนักศึกษาส่วนใหญ่ใช้แบบการเรียนแบบพึ่งพา
สูงสุด เมื่อจำแนกตามระดับชั้นปี พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ชอบใช้แบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมสูงสุด ชั้นปีที่ 2 ชอบใช้แบบการเรียน
แบบพึ่งพาสูงสุด ชั้นปีที่ 3 ใช้แบบการเรียนทั้งแบบร่วมมือและแบบมีส่วนร่วมสูงสุด ชั้นปีที่ 4 ใช้แบบการเรียนแบบร่วมมือสูงสุด
และนักศึกษาทุกชั้นปี ใช้แบบการเรียนแบบหลีกเลี่ยงต่ำสุด นักศึกษาเห็นว่าปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากตัวนักศึกษาไม่ตั้งใจเรียนโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3, และ 4 ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ประสบปัญหา คือ เรียนบางวิชาเรียน ไม่รู้เรื่องเพราะไม่เข้าใจที่อาจารย์สอน
วิธีการสอนที่เหมาะสมกับแบบการเรียนของนักศึกษาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาส่วนใหญ่ คือ การสอนหลาย ๆ แบบผสมผสานกัน
นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมควรสอดคล้องกับแบบการเรียนของนักศึกษาทั้งด้านผู้เรียน
อาจารย์ผู้สอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนและคำนึงถึงปัญหาที่นักศึกษา
ประสบจากแบบการเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้มากยิ่งขึ้น
วันที่ลง01/07/2019
405
