การใช้ประโยชน์ด้านพลังงานกลจากน้ำเก็บสะสมที่มีอยู่บนอาคาร
ประเภทบทความ :
บทความวิชาการ
หมวดหมู่ :
อื่นๆ
บทความนี้เป็นการศึกษาวิจัยถึงการนำน้ำทิ้งที่ได้กักเก็บไว้บนอาคารมาแปรรูปแบบเป็นพลังงานกล เพื่อให้เห็นถึงการ
ใช้ประโยชน์จากพลังงานที่ยังมีเหลืออยู่ ซึ่งเป็นรูปแบบของพลังงานทดแทน โดยที่กำลังงาน และ ประสิทธิภาพที่ได้จะมีการแปร
เปลี่ยนไปตามตัวแปรต่างๆ กังหันน้ำแบบจำลองได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับน้ำที่กักเก็บไว้บนอาคารชั้นต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนขนาด
ลำน้ำที่เข้าขับกังหัน และปรับวาล์วควบคุมการไหลของน้ำเพื่อควบคุมอัตราการไหลของน้ำที่ทำให้ได้หัวน้ำ 50 % ของระดับความ
สูงของน้ำขึ้นไป ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ได้กำลังงานถ่ายเทสูงขึ้น แต่ความเร็วรอบของกังหันต่ำลงเมื่อใช้หัวฉีดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
ได้กำลังงานถ่ายเทสูงขึ้นตามตำแหน่งมุมในการปรับวาล์วมากขึ้นและระดับความสูงของน้ำเพิ่มขึ้น กำลังงานที่กังหันส่งออกที่ระดับ
ความสูงของน้ำ 4 m ได้สูงสุดประมาณ 20 W ที่ระดับความสูงของน้ำ 7 m ได้สูงสุดประมาณ 43 W , ที่ระดับความสูงของน้ำ 10 m
ได้สูงสุดประมาณ 78 W และที่ระดับความสูงของน้ำ 13 m ได้สูงสุดประมาณ 115 W สำหรับหัวฉีดขนาดเล็ก ค่าประสิทธิภาพ
โดยรวมของกังหันมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อ มีการปรับวาล์วให้อัตราการไหลของน้ำสูงขึ้น แต่จะค่อนข้างคงที่เมื่ออัตราการไหลของ
น้ำสูงๆ ค่าประสิทธิภาพโดยรวมของกังหันสูงสุดเมื่อใช้หัวฉีดขนาดที่เหมาะสม
วันที่ลง01/07/2019
407
