การใช้หลักการของ Exergy ในการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรของประเทศไทย สัณห์ โอฬาพิริยกุล* ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตุประสงค์เพื่อนำหลักการทางอณุพลศาสตร์ของเอ็กเซอร์จี (Exergy) มาใช้ในการประเมินการใช้ทรัพยากรของประเทศไทย ทรัพยากรชนิดต่างๆที่โดยทั่วไปอยู่ในหน่วยของน้ำหนักหรือหน่วยของพลังงานถูกนำมารวมกันภายใต้หน่วยของ Exergy การใช้ Exergy เป็นหน่วยกลางนั้นมีความสมเหตุสมผลเนื่องจากปริมาณ Exergy ของทรัพยากรนั้นหมายถึงศักยภาพในการก่อให้เกิดงานที่มีประโยชน์หรือปริมาณงานขั้นต่ำที่ต้องใช้ในการได้มาซึ่งทรัพยากร ผลการวิเคราะห์ที่ได้สามารถนำมาใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรประเภทต่างๆผลการวิเคราะห์ดังกล่าวยังเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการจัดทำแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น ค่าการใช้ Exergy ระดับชาติที่คำนวณได้สามารถนำไปใช้เป็นค่าอ้างอิงในการเปรียบเทียบกับค่าการใช้ Exergy ในระดับองค์กรหรือบุคคลอีกด้วย นอกจากนี้ บทความนี้ยังมุ่งที่จะให้ข้อมูลที่ช่วยให้นักวิจัยได้มีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับหลักการของ Exergy และการประยุกต์ใช้หลักการของ Exergy ในด้านต่างๆโดยเฉพาะในด้านดัชนีชี้วัดสมรถนะด้านสิ่งแวดล้อม

คำสำคัญ : เอ็กเซอร์จี, พลังงาน, ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ความยั่งยืน, การวิเคราะห์การใช้ทรัพยากร