แนวทางการนำกากคอนกรีตกลับมาใช้ประโยชน์
มลฤดี โตพิสิฐ * และ สาลินี อาจารีย์
สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม, ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

บทคัดย่อ
ปัจจุบันกากของเสียอุตสาหกรรม มีปริมาณมากขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลที่ตามมาคือปัญหาสภาวะแวดล้อม เนื่องจากกากอุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะโลกร้อนและการอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก เป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่ทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจและเร่งหาแนวทางแก้ไขในระยะยาว การกำจัดกากอุตสาหกรรมที่นิยมใช้ในการบำบัดและกำจัดโดยหลัก คือ วิธีการฝังกลบ ซึ่งวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งกากคอนกรีตเป็นของเสียอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมธุรกิจผลิตคอนกรีตผสมเสร็จซึ่งมีการขยายตัวมากขึ้นตามภาวะการณ์ก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นภายในประเทศ ดังนั้นกระบวนจัดการกากคอนกรีตจึงมีความจำเป็นที่ควรเลือกใช้กระบวนการที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด วิธีการที่สนับสนุนให้ใช้ในการกำจัดกากคอนกรีตคือ วิธี 3 R ได้แก่ R1.Reduce คือ การลดการใช้ การบริโภค ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นให้น้อยลง ลดการก่อให้เกิดของเสีย R2. Reuse การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้ มาใช้ซ้ำ และ R3. Recycle คือ การนำสิ่งของที่ใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้ไปจัดการด้วยกระบวนการต่าง ๆ แล้วแปรรูปเป็นสิ่งใหม่ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป ซึ่งจากการทดสอบคุณสมบัติของหิน และทรายที่ได้จากคอนกรีตผสมเสร็จที่ไม่ใช้แล้ว โดยทดสอบคุณสมบัติด้านขนาดคละ และปริมาณฝุ่น ผลทดสอบที่ได้มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคอนกรีตได้ และจากการออกแบบการทดลองเพื่อหาสัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้หิน และทรายที่ได้จากคอนกรีตผสมเสร็จที่ไม่ใช้แล้ว แทนการใช้หิน และทรายใหม่ ในส่วนผสมคอนกรีต โดยทดลองในสัดส่วนร้อยละ 0 20 40 และ 60 ซึ่งพิจารณาจากผลทดสอบด้านคอนกรีตสด และคอนกรีตแข็งตัวแล้ว จากผลการทดลองได้ค่าสัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้ร้อยละ 20-40%

คำสำคัญ : คอนกรีตผสมเสร็จ, กากคอนกรีตสด, เครื่องแยกกากคอนกรีตสด, ค่าการสูญเสียการยุบตัว, ค่ากำลังอัดของคอนกรีต