บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของน้ำหนัก ระยะทางในการขัดถู และสภาวะความชื้น ที่มีผลต่อสมบัติความทนทานต่อการสึกหรอของวัสดุเชิงประกอบพอลิไวนิลคลอไรด์ผสมผงขี้เลื่อยไม้ จากผลการทดลอง พบว่า เมื่อเพิ่มน้ำหนักในการทดสอบทำให้การสึกหรอมีค่าสูงขึ้น แต่เมื่อเพิ่มน้ำหนักเป็น 1000 กรัม การสึกหรอสูงขึ้นในช่วงระยะทางการขัดถู 0.5-1.5 กิโลเมตร จากนั้นเริ่มมีแนวโน้มคงที่ในช่วง 1.5-2.0 กิโลเมตร ส่วนผลของระยะทางที่มีต่อการสึกหรอพบว่า เมื่อเพิ่มระยะทางในการทดสอบมากขึ้นส่งผลให้การสึกหรอมีค่าสูงขึ้น จากการตรวจสอบโครงสร้างทางสัณฐานวิทยา พบว่า ที่น้ำหนัก 250-500 กรัม และที่ระยะทางในการขัดถู 0.5-1.5 กิโลเมตร การสึกหรอเกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลในการสึกหรอของพอลิไวนิลคลอไรด์ สำหรับที่ระยะทาง 1.5-2.0 กิโลเมตร พบว่า ผงขี้เลื่อยไม้เริ่มมีอิทธิพลต่อการต้านทานการสึกหรอของชิ้นงาน และที่น้ำหนัก 1000 กรัม ระยะทาง 0.5-1.5 กิโลเมตร พบว่า การสึกหรอที่เกิดขึ้นเป็นเป็นอิทธิพลมาจากการขัดถูร่วม (3-body wear) ส่วนที่ระยะทาง 1.5-2.0 กิโลเมตร เกิดกระบวนการต้านทานการสึกหรออันเป็นผลมาจากอิทธิพลของผงขี้เลื่อยไม้ร่วมกับการเกิดฟิล์มระหว่างผิวสัมผัส (Transfer film) สำหรับผลของปริมาณการดูดซับน้ำ พบว่า ในกรณีที่ไม่ขัดผิวชิ้นงานสามารถต้านทานการดูดซับน้ำได้ดีกว่าชิ้นงานที่มีการขัดผิวหน้าออก ที่ปริมาณการดูดซับน้ำ 3% พบว่า การสึกหรอที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีของพอลิไวนิลคลอไรด์ที่ผิวหน้า และที่ปริมาณการดูดซับน้ำ 6 % พบว่า ผงขี้เลื่อยไม้เริ่มมีอิทธิพลต่อการต้านทานการสึกหรอของชิ้นงาน ส่วนที่ปริมาณการดูดซับน้ำ 9 % พบว่า เกิดกระบวนการขัดถูร่วม (3-body wear) ส่งผลให้ชิ้นงานมีปริมาณการสึกหรอสูงขึ้น
คำสำคัญ : วัสดุเชิงประกอบของพอลิไวนิลคลอไรด์ผสมผงขี้เลื่อยไม้, การสึกหรอ, ผลิตภัณฑ์ไม้พื้น
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของน้ำหนัก ระยะทางในการขัดถู และสภาวะความชื้น ที่มีผลต่อสมบัติความทนทานต่อการสึกหรอของวัสดุเชิงประกอบพอลิไวนิลคลอไรด์ผสมผงขี้เลื่อยไม้ จากผลการทดลอง พบว่า เมื่อเพิ่มน้ำหนักในการทดสอบทำให้การสึกหรอมีค่าสูงขึ้น แต่เมื่อเพิ่มน้ำหนักเป็น 1000 กรัม การสึกหรอสูงขึ้นในช่วงระยะทางการขัดถู 0.5-1.5 กิโลเมตร จากนั้นเริ่มมีแนวโน้มคงที่ในช่วง 1.5-2.0 กิโลเมตร ส่วนผลของระยะทางที่มีต่อการสึกหรอพบว่า เมื่อเพิ่มระยะทางในการทดสอบมากขึ้นส่งผลให้การสึกหรอมีค่าสูงขึ้น จากการตรวจสอบโครงสร้างทางสัณฐานวิทยา พบว่า ที่น้ำหนัก 250-500 กรัม และที่ระยะทางในการขัดถู 0.5-1.5 กิโลเมตร การสึกหรอเกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลในการสึกหรอของพอลิไวนิลคลอไรด์ สำหรับที่ระยะทาง 1.5-2.0 กิโลเมตร พบว่า ผงขี้เลื่อยไม้เริ่มมีอิทธิพลต่อการต้านทานการสึกหรอของชิ้นงาน และที่น้ำหนัก 1000 กรัม ระยะทาง 0.5-1.5 กิโลเมตร พบว่า การสึกหรอที่เกิดขึ้นเป็นเป็นอิทธิพลมาจากการขัดถูร่วม (3-body wear) ส่วนที่ระยะทาง 1.5-2.0 กิโลเมตร เกิดกระบวนการต้านทานการสึกหรออันเป็นผลมาจากอิทธิพลของผงขี้เลื่อยไม้ร่วมกับการเกิดฟิล์มระหว่างผิวสัมผัส (Transfer film) สำหรับผลของปริมาณการดูดซับน้ำ พบว่า ในกรณีที่ไม่ขัดผิวชิ้นงานสามารถต้านทานการดูดซับน้ำได้ดีกว่าชิ้นงานที่มีการขัดผิวหน้าออก ที่ปริมาณการดูดซับน้ำ 3% พบว่า การสึกหรอที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเกิดปฏิกิริยาเคมีของพอลิไวนิลคลอไรด์ที่ผิวหน้า และที่ปริมาณการดูดซับน้ำ 6 % พบว่า ผงขี้เลื่อยไม้เริ่มมีอิทธิพลต่อการต้านทานการสึกหรอของชิ้นงาน ส่วนที่ปริมาณการดูดซับน้ำ 9 % พบว่า เกิดกระบวนการขัดถูร่วม (3-body wear) ส่งผลให้ชิ้นงานมีปริมาณการสึกหรอสูงขึ้น
คำสำคัญ : วัสดุเชิงประกอบของพอลิไวนิลคลอไรด์ผสมผงขี้เลื่อยไม้, การสึกหรอ, ผลิตภัณฑ์ไม้พื้น