การศึกษาประสิทธิภาพอากาศเย็นแบบอากาศหมุนวนในท่อ อัคครัตน์ พูลกระจ่าง1,*, และ นพพร เปรมใจ2, 1 สาขาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำอากาศเย็น และหาประสิทธิภาพอากาศเย็นแบบอากาศหมุนวนในท่อ การออกแบบชุดทดลองมีหัวป้อนลม จำนวน 6 หัว ขนาดท่อลมได้มาจากการคำนวณทางเทอร์โมไดนามิกส์ มีการทดลองเปรียบเทียบความยาวของท่อ ขนาด 300, 450 และ 600 mm เพื่อหาค่า อุณหภูมิของลมออกและระบายความร้อน อัตราการไหล ความเร็วลมออก และค่าประสิทธิภาพอากาศเย็นแบบอากาศหมุนวนในท่อ ผลการวิจัย พบว่า ท่ออะลูมิเนียมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 mm ความยาว 300 mm มีประสิทธิภาพและมีค่าความเย็นดีที่สุด เมื่อความดันเพิ่มขึ้นอุณหภูมิทางออกจะลดลงและประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้น โดยการทดลองแบบไม่ควบคุมอุณหภูมิอยู่ในช่วง 30 – 35 oC มีประสิทธิภาพเฉลี่ยประมาณ 55.32 % ที่อุณหภูมิทางออก 13.4 oC อัตราการไหล 6.5 m/s และอุณหภูมิการระบายความร้อน 33.46 oC ส่วนการควบคุมอุณหภูมิ 25 oC มีประสิทธิภาพ เฉลี่ยประมาณ 62.56 % ที่อุณหภูมิทางออก 9.73 oC อัตราการไหล 5.53 m/s และอุณหภูมิการระบายความร้อน 25.66 oC

คำสำคัญ : ประสิทธิภาพ, อากาศเย็น, อากาศหมุนวนในท่อ