บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน และปริมาณการแทนที่เถ้าถ่านหินต่อปริมาณคลอไรด์วิกฤติในคอนกรีตที่แช่ในสภาวะแวดล้อมน้ำทะเล คอนกรีตควบคุมทำจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ที่มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.45, 0.55 และ 0.65 (คอนกรีต I45 I55 I65 ตามลำดับ) ในแต่ละอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานได้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ด้วยเถ้าถ่านหินจากแม่เมาะในอัตราร้อยละ 15, 25, 35 และ 50โดยน้ำหนักวัสดุประสาน หล่อตัวอย่างคอนกรีตขนาด 200 x 200 x 200 มม. และฝังเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม. ยาว 50 มม. มีระยะคอนกรีตหุ้มเหล็ก 10, 20, 50 และ 75 มม. หลังจากบ่มคอนกรีตจนอายุครบ 28 วัน นำตัวอย่างคอนกรีตไปแช่บริเวณชายฝั่งทะเล จ.ชลบุรี ทำการเก็บตัวอย่างทดสอบปริมาณคลอไรด์อิสระ (ใช้น้ำทำละลาย) ในคอนกรีต ณ ตำแหน่งที่ฝังเหล็ก และวัดพื้นที่สนิมเหล็กที่เกิดขึ้นหลังแช่คอนกรีตในน้ำทะเลเป็นเวลา 3, 4, 5, 7 และ 10 ปี จากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอไรด์ในคอนกรีตที่ตำแหน่งฝังเหล็กกับการเกิดสนิมของเหล็กเสริม สามารถวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์วิกฤติในแต่ละส่วนผสมได้ ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณคลอไรด์วิกฤติ ในคอนกรีต มีค่าลดลงเมื่อปริมาณการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าถ่านหินสูงขึ้น (โดยเฉพาะในคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหินในปริมาณต่ำ) และมีค่าลดลงตามอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่มากขึ้น
คำสำคัญ : สภาวะแวดล้อมทะเล, เถ้าถ่านหิน, คลอไรด์วิกฤติ, อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน
งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน และปริมาณการแทนที่เถ้าถ่านหินต่อปริมาณคลอไรด์วิกฤติในคอนกรีตที่แช่ในสภาวะแวดล้อมน้ำทะเล คอนกรีตควบคุมทำจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ที่มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.45, 0.55 และ 0.65 (คอนกรีต I45 I55 I65 ตามลำดับ) ในแต่ละอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานได้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ด้วยเถ้าถ่านหินจากแม่เมาะในอัตราร้อยละ 15, 25, 35 และ 50โดยน้ำหนักวัสดุประสาน หล่อตัวอย่างคอนกรีตขนาด 200 x 200 x 200 มม. และฝังเหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม. ยาว 50 มม. มีระยะคอนกรีตหุ้มเหล็ก 10, 20, 50 และ 75 มม. หลังจากบ่มคอนกรีตจนอายุครบ 28 วัน นำตัวอย่างคอนกรีตไปแช่บริเวณชายฝั่งทะเล จ.ชลบุรี ทำการเก็บตัวอย่างทดสอบปริมาณคลอไรด์อิสระ (ใช้น้ำทำละลาย) ในคอนกรีต ณ ตำแหน่งที่ฝังเหล็ก และวัดพื้นที่สนิมเหล็กที่เกิดขึ้นหลังแช่คอนกรีตในน้ำทะเลเป็นเวลา 3, 4, 5, 7 และ 10 ปี จากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอไรด์ในคอนกรีตที่ตำแหน่งฝังเหล็กกับการเกิดสนิมของเหล็กเสริม สามารถวิเคราะห์หาปริมาณคลอไรด์วิกฤติในแต่ละส่วนผสมได้ ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณคลอไรด์วิกฤติ ในคอนกรีต มีค่าลดลงเมื่อปริมาณการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าถ่านหินสูงขึ้น (โดยเฉพาะในคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหินในปริมาณต่ำ) และมีค่าลดลงตามอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่มากขึ้น
คำสำคัญ : สภาวะแวดล้อมทะเล, เถ้าถ่านหิน, คลอไรด์วิกฤติ, อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน