สมบัติของคอนกรีตที่ทำจากวัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรมที่มีกากแคลเซียมคาร์ไบด์เถ้าปาล์มน้ำมัน เถ้าแกลบเปลือกไม้ และมวลรวมรีไซเคิล
ไชยนันท์ รัตนโชตินันท์ 1 ณัฐพงศ์ มกระธัช 2* วีรชาติ ตั้งจิรภัทร 1 ชัย จาตุรพิทักษ์กุล 1 และ กษิดิศ มานะพัฒนานุกุล 2
1 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2 ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

บทคัดย่อ
คอนกรีตนี้ถูกทำขึ้น โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรมทั้งในวัสดุประสานและมวลรวมกากแคลเซียมคาร์ไบด์ (CCR) ผสมแยกกับเถ้าปาล์มน้ำมัน (PA) และเถ้าแกลบเปลือกไม้ (RA) นำมาใช้เป็นวัสดุประสานแทนที่ปูนซีเมนต์ในส่วนผสมคอนกรีต นอกจากนี้มวลรวมรีไซเคิลถูกนำมาใช้แทนที่มวลรวมธรรมชาติเพื่อที่หล่อตัวอย่างคอนกรีต (คอนกรีต CCR-PA และ CCR-RA) สมบัติของคอนกรีต ได้แก่ กำลังอัด การแทรกซึมของคลอไรด์ และการซึมของน้ำผ่านคอนกรีตได้รับการประเมินและเปรียบเทียบกับคอนกรีตควบคุม (คอนกรีต CON) ผลการวิจัยพบว่าวัสดุประสาน CCR-PA และ CCR-RA สามารถนำมาใช้เป็นสารยึดเกาะในคอนกรีตที่ใช้มวลรวมรีไซเคิล แม้ว่าวัสดุประสาน CCR-PA และ CCR-RA มีหรือไม่มีปูนซีเมนต์ การพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต CCR-PA และ CCR-RA คล้ายกับคอนกรีต CON นอกจากนี้วัสดุประสาน CCR-PA และ CCR-RA สามารถปรับปรุงการแทรกซึมของคลอไรด์และการซึมของน้ำผ่านคอนกรีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าคอนกรีต CCR-PA และ CCR-RA สามารถใช้เป็นคอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมชนิดใหม่ เพราะคอนกรีตเหล่านี้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

คำสำคัญ : วัสดุเหลือทิ้งอุตสาหกรรม, กากแคลเซียมคาร์ไบด์, เถ้าปาล์มน้ำมัน, เถ้าแกลบเปลือกไม้, มวลรวมรีไซเคิล