การชะละลายโลหะสังกะสีจากวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมด้วยวิธีโลหะวิทยาการละลาย
จิตติ คำสวัสดิ์ 1 เสถียร นิลธวัช 2 และ อภิชาติ โรจนโรวรรณ 1*
1 ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
2 วิศวกรรมนานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เลขที่ 1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

บทคัดย่อ
งานวิจัยชุดนี้ได้แสดงผลการศึกษาการชะละลายโลหะสังกะสี ออกจากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมเรียกว่าจาโรไซต์ (Jarosite) ซึ่งจะเป็นแนวทางสู่การพัฒนากระบวนการคืนสภาพโลหะที่มีค่าออกจากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยจากผลการทดลองและการวิเคราะห์จาโรไซต์ด้วย XRD พบว่าตัวอย่างจาโรไซต์ประกอบไปด้วย ยิบซัม (Gypsum) ซิลเวอซัลไฟต์ (Silver sulfite) และอาเจนโตจาโรไซต์ (AgFe2(SO4)2(OH)6) นอกจากนั้นจากการวิเคราะห์ด้วย SEM/EDS และ LEP ยังแสดงให้เห็นว่าตัวอย่างจาโรไซต์ ประกอบไปด้วยโลหะที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น อินเดียม (In) เงิน (Ag) ทองแดง (Cu) และ สังกะสี (Zn) โดยในการทดลองการชะละลายจาโรไซต์ด้วยสารละลายกรดซัลฟิวริก (H2SO4) พบว่าสามารถชะละลายโลหะสังกะสีออกมาจากจาโรไซต์ได้มากกว่าร้อยละ 80 เมื่อทำการเปรียบเทียบกับปริมาณโลหะสังกะสีเดิมที่มีอยู่ในจาโรไซต์

คำสำคัญ : วัสดุเหลือทิ้ง จาโรไซต์ การชะละลาย สังกะสี การรีไซเคิล