บทคัดย่อ
ในการศึกษานี้เป็นผลของอิทธิพลของกระแสเชื่อม (ในช่วง 70 75 80 85 90 และ 95 แอมป์) ที่ส่งผลต่อสมบัติทางกลและโครงสร้างจุลภาค ของแนวแล่นประสานเหล็กชุบสังกะสีด้วยลวดเติมทองแดงซิลิคอน โดยใช้กระบวนการแล่นประสานด้วยกระบวนการเชื่อมมิก พบว่าเมื่อใช้กระแสเชื่อมสูงขึ้นส่งผลให้ความสามารถในการแทรกตัวของลวดเติมไปยังช่องว่างรอยต่อเพิ่มขึ้น โดยโครงสร้างจุลภาคของแนวแล่นประสานถูกตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่าเกิดการตกตะกอนของเฟสสารประกอบกึ่งโลหะ (Fe5Si3(Cu)) กระจายทั่วไปในเนื้อพื้น และพบว่าขนาดของเฟส Fe5Si3(Cu) เพิ่มขึ้นเมื่อกระแสเชื่อมสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของเฟส Fe5Si3(Cu) ในแนวแล่นประสานเป็นผลให้ค่าความแข็งของแนวแล่นประสานเพิ่มขึ้น และความแข็งแรงของแนวแล่นประสานในทุกกระแสเชื่อม มีความแข็งแรงที่สูงกว่าตัวแผ่นเหล็กชุบสังกะสีในการทดลอง
คำสำคัญ : เหล็กชุบสังกะสี ลวดเติมทองแดงซิลิคอน แล่นประสาน การเชื่อมมิก สมบัติทางกล