คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เสื้อจากผ้าบาติก
นิตยา ศิริวัน 1* และ ชลิตา สุวรรณ 2
1 ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม, คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 ภาควิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์และจัดการอุตสาหกรรมก่อสร้าง, คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อวิเคราะห์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของเสื้อผ้าบาติก ของร้านสมบูรณ์สิ่งทอ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการกำหนดหน่วยการทำงานของระบบคือ เสื้อคอเชิ้ตผ้าบาติกลายดอกกุหลาบ ผลิตจากผ้าทอฝ้าย ขนาดอก 42 นิ้ว จำนวน 1 ตัว โดยทำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่กระบวนการผลิตวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิตผลิตภัณฑ์ การใช้งานผลิตภัณฑ์ จนกระทั่งการกำจัดซากผลิตภัณฑ์และบำบัดน้ำเสีย ผลการวิจัยพบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากวัฏจักรชีวิตของเสื้อผ้าบาติกมีค่าเท่ากับ 3.59 kg CO2-eq กระบวนการที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือกระบวนการผลิตวัตถุดิบ มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณ 2.69 kg CO2-eq ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 74.8 รองลงมาคือกระบวนการผลิต กระบวนการใช้งาน กระบวนการกำจัดซากและบำบัดน้ำเสีย และกระบวนการขนส่ง ซึ่งมีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.35, 8.95, 0.6 และ 0.3 ตามลำดับ การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการเลือกใช้ผ้าทอจากเส้นใยฝ้ายที่ผลิตแบบออร์แกนิกส์ และเลือกสีที่ใช้ในการย้อมลายผ้าบาติกเป็นสีจากธรรมชาติ

คำสำคัญ : ก๊าซเรือนกระจก, ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ, คาร์บอนไดออกไซด์