อิทธิพลของการเติมลวดเชื่อมอลูมิเนียมต่อสมบัติทางกล และส่วนผสมทางเคมีของแนวเชื่อมพอกผิวแข็ง เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์คทังสเตนแก๊สคลุม
สุริยา ประสมทอง * สุริยา น้ำแก้ว
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม , มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเติมลวดเชื่อมอลูมิเนียมต่อสมบัติทางกล โครงสร้างจุลภาค และส่วนประกอบทางเคมีของแนวเชื่อมพอกผิวแข็งด้วยกรรมวิธีการเชื่อมอาร์คทังสเตนแก๊สคลุม โดยทำการเปรียบเทียบความเร็วในการเติมลวดเชื่อมอลูมิเนียมที่ 5-15 เมตร/นาที จากการทดลองพบว่าความเร็วในการเติมลวดเชื่อมอลูมิเนียม 15 เมตร/นาที มีค่าความแข็งสูงสุดที่ 885.87 HV และลดลงตามความเร็วลวดเชื่อม เมื่อพิจารณาถึงการสึกกร่อนของแนวเชื่อมพบว่าความเร็วในการเติมลวดเชื่อมที่ 10 เมตร/นาที มีอัตราการสึกกร่อนต่ำสุดที่ 0.123 กรัม/นาที จากการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคและส่วนประกอบทางเคมีพบว่าแนวเชื่อมที่เชื่อมด้วยความเร็วในการเติมลวด 15 เมตร/นาที มีการกระจ่ายตัวของอลูมิเนียมมากกว่าเหล็กมีลักษณะโครงสร้างจุลภาคแบบยูเทคติก FeAl สลับกับโครงสร้างลาเมลลายูเทคติก FeAl2 และมีรอยแตกร้าวในแนวเชื่อม แต่เมื่อลดความเร็วในการเติมลวดเชื่อมพบว่าแนวเชื่อมมีปริมาณเหล็กสูงกว่าอลูมิเนียมเกิดโครงสร้างจุลภาคยูเทคติก FeAl ลักษณะคล้ายเข็มจากปฎิกิริยายูเทคติกขึ้นแทรกกระจายตัวบนโครงสร้างของ FeAl3 และไม่พบรอยแตกร้าวในแนวเชื่อมเมื่อลดความเร็วในการเติมลวดเชื่อมอลูมิเนียม

คำสำคัญ : เชื่อมพอกผิวแข็ง, ส่วนผสมทางเคมี, เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ, การเชื่อมอาร์คทังสเตนแก๊สคลุม